วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 17 ของการฝึกงาน

งานประจำวัน
  1. ออกรายงานประจำวันตอนเช้า
  2. ออกรายงานประจำวันตอนเย็น
  3. ทำ KYC
  4. ถ่ายเอกสาร
  5. จัดเรียงเอกสารเข้าแฟ้ม
  6. จัดเรียงใบเสร็จ ( อส.75 )
  7. รับชำระสินเชื่อ
  8. ทำการส่งเครคิตบูโร
  9. ทำการรับเครคิตบูโร
  10. ทำการออกหนังสือรับรองดอกเบี้ย
ปัญหา : ไม่มี
การแก้ไขปัญหา : ไม่มี

สัปดาห์ที่ 16 ของการฝึกงาน

งานประจำวัน
  1. ออกรายงานประจำวันตอนเช้า
  2. ออกรายงานประจำวันตอนเย็น
  3. ออกรายงานหนี้ค้างชำระ
  4. ทำ KYC
  5. ทำใบคำขอ
  6. ทำการวิเคราะห์ข้อมูล
  7. ทำการอนุมัติและพิมพ์สัญญา
  8. ทำการนัดจ่ายและจ่ายสินเชื่อ
  9. ทำการส่งเครคิตบูโร
  10. ทำการรับเครคิตบูโร
  11. ทำการคีย์ประกัน
  12. ถ่ายเอกสาร
  13. จัดเรียงเอกสารเข้าแฟ้ม
  14. จัดเรียงใบเสร็จ (อส.75)
ปัญหา : ไม่มี
การแก้ไขปัญหา : ไม่มี

สัปดาห์ที่ 15 ของการฝึกงาน

งานประจำวัน
  1. ออกรายงานประจำตอนเช้า
  2. ออกรายงานประจำตอนเย็น
  3. ทำ KYC
  4. ทำใบคำขอ
  5. ทำการวิเคราะห์ข้อมูล
  6. ทำการอนุมัติและพิมพ์สัญญา
  7. ทำการนัดจ่ายและจ่ายเงินสินเชื่อ
  8. ถ่ายเอกสาร
  9. จัดเรียงเอกสารเข้าแฟ้ม
  10. จัดเรียงใบเสร็จ ( อส.75 )
  11. รับชำระสินเชื่อ
ปัญหา : ไม่มี
การแก้ไขปัญหา : ไม่มี

สัปดาห์ที่ 14 ของการฝึกงาน

งานประจำวัน
  1. ออกรายงานประจำตอนเช้า
  2. ออกรายงานประจำตอนเย็น
  3. ออกรายงานหนี้ค้างชำระ
  4. รับชำระสินเชื่อ
  5. ถ่ายเอกสาร
  6. ทำ KYC
  7. ทำใบคำขอ
  8. ทำการวิเคราะห์ข้อมูล
  9. ทำการอนุมัติและพิมพ์สัญญา
  10. ทำการนัดจ่ายและจ่ายเงินสินเชื่อ
  11. ทำการคีย์ประกัน
  12. ทำการส่งเครคิตบูโร
  13. ทำการรับเครคิตบูโร
  14. จัดเรียงเอกสารเข้าแฟ้ม
  15. จัดเรียงใบเสร็จ ( อส.75 )
ปัญหา : ไม่มี
การแก้ไขปัญหา : ไม่มี

สัปดาห์ที่ 13 ของการฝึกงาน

งานประจำวัน
  1. ออกรายงานประจำตอนเช้า
  2. ออกรายงานประจำตอนเย็น
  3. ออกรายงานหนี้ค้างชำระ
  4. ออกรายงาน 3 ค
  5. ทำ KYC
  6. ทำใบคำขอ
  7. ทำการวิเคราะห์ข้อมูล
  8. ทำการอนุมัติและพิมพ์สัญญา
  9. ทำการนัดจ่ายและจ่ายเงินกู้
  10. ทำการคีย์ประกันและปริ้นส์ใบเสร็จ
  11. ทำการจัดเรียงเอกสารเข้าแฟ้ม
  12. ทำการจัดเรียงใบเสร็จ ( อส.75 )
  13. ถ่ายเอกสาร
  14. เป็นผู้ช่วยในการวางระบบใหม่
  15. รับชำระสินเชื่อ
ปัญหา
  1. ระบบช้า ระบบขัดข้อง
  2. มีการพิมพ์สัญญาไม่ตรงกบแบบฟอร์ม
  3. มีการรับชำระไม่ตรง
การแก้ไขปัญหา
  1. ต้องทำการเช็คเครื่องพิมพ์ใหม่
  2. ทำการยกเลิกรายการแล้วค่อยรับชำระใหม่

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 12 ของการฝึกงาน

ภาระหน้าที่ประจำวัน
  1. ทำ KYC (เพื่อรู้กตัวตนของลูกค้า)
  2. ทำใบคำขอลูกค้าที่มาติดต่อสินเชื่อ
  3. ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสินเชื่อ
  4. ทำการปริ้นส์ Silp ตรวจสอบลูกค้าสินเชื่อ
  5. ทำการอนุมัติและพิมพ์สัญญา
  6. ทำการลงนามและนัดจ่ายและจ่ายสินเชื่อ
  7. ทำการคีย์ประกันเพื่อป้องกันอุบัติเหตุให้กับลูกค้า
  8. ทำการปริ้นส์ใบเสร็จค่าประกัน
  9. รับชำระสินเชื่อ
  10. จัดเรียงเอกสารต่าง ๆ
  11. ออกรายงานสรุปประจำวัน
ปัญหา
         การออกรายงานแต่ละครั้งต้องใช้เวลานานจึงทำให้เสียเวลาในการทำงานอย่างอื่น

การแก้ไขปัญหา
        ต้องทำงานอย่างอื่นก่อนก่อนที่จะมาออกรายงานประจำวันต่อ

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 11 ของการฝึกงาน

ภาระประจำวัน
  1. ทำ KYC
  2. ทำใบคำขอ
  3. ทำวิเคราะห์ข้อมูล
  4. ทำการปริ้นส์ Silp ตรวจสอบ
  5. พิมพ์สัญญา
  6. ทำการอนุมัติและนัดจ่ายและจ่ายสินเชื่อ
  7. ทำการคีย์ประกัน
  8. ทำการยืนยันประกัน
  9. ปริ้นส์ใบเสร็จประกัน
  10. รับชำระสินเชื่อ
  11. ถ่ายเอกสาร
  12. ทำรายงานสรุป
  13. ออกรายงานประจำวัน
ปัญหา
  1. ระบบช้า
  2. ปริ้นส์ใบเสร็จประกันผิดประเภท
  3. พิมพ์รายงานไม่ตรงกับแบบฟอร์ม
การแก้ไขปัญหา
  1. ยกเลิกรายการแล้วปริ้นส์ใบเสร็จใหม่
  2. ทำการเช็คเครื่องใหม่แล้วทำพิมพ์สัญญาใหม่

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 10 ของการฝึกงาน

ภาระหน้าที่ประจำวัน
  1. ทำ Kyc
  2. ทำใบคำขอ
  3. ปริ้นส์ Silp ตรวจสอบ
  4. ทำการวิเคราะห์ข้อมูล
  5. พิมพ์สัญญา
  6. ลงนาม,นัดจ่าย,จ่ายสอนเชื่อ
  7. รับชำระสินเชื่อ
  8. ส่งเครดิตบูโร
  9. รับเครดิตบูโร
  10. จัดเรียงเอกสารเข้าแฟ้ม
  11. ถ่ายเอกสาร
ปัญหา
  1. พิมพ์สัญญาไม่ตรงกับแบบฟอร์ม
  2. รับชำระสินเชื่อผิดประเภท
การแก้ไขปัญหา
  1. ปิดเครื่องพิมพ์ใหม่แล้วเช็คเครื่องใหม่แล้วค่อยพิมพ์
  2. ยกเลิกรายการที่ผิดประเภทแล้วค่อยรับชำระใหม่

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 9 ของการฝึกงาน

ภาระงานประจำ
  1. ทำ KYC
  2. ออกรายงานประจำวัน
  3. รับชำระสินเชื่อ
  4. จัดเก็บเอกสาร
  5. ส่งเครดิตบูโร
  6. รับเครคิตบูโร
ปัญหา
           ไม่มีปัญหา
การแก้ไข
           ไม่มีการแก้ไขปัญหา

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 8 ของการฝึกงาน

ภาระงานประจำวัน
  1. ทำ KYC
  2. ทำใบคำขอ
  3. วิเคราะห์ข้อมูล
  4. ปริ้นส์ Silp ตรวจสอบ
  5. ทำการอนุมัติสินเชื่อ
  6. พิมพ์สัญญา
  7. ทำการลงนาม
  8. ทำการนัดจ่ายสินเชื่อ
  9. ทำการจ่ายสินเชื่อ
  10. ทำการคีย์ประกัน
  11. ทำการยืนยันประกัน
  12. ปริ้นส์ใบเสร็จประกัน
ปัญหา
  1. ระบบช้ามาก (ระบบขัดข้อง)
  2. พิมพ์สัญญาผิดประเภท
การแก้ไขปัญหา
  1. ต้องรอให้ส่วนกลางแก้ไขระบบ
  2. ต้องเช็ดเครื่องพิมพ์สัญญาใหม่แล้วคอยพิมพ์

วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 7 ของการฝึกงาน

ภาระงานประจำวัน
  1. ทำ KYC
  2. ทำใบคำขอ
  3. ทำการวิเคราะห์ข้อมูล
  4. ทำการอนุมัติสินเชื่อ
  5. ทำการปริ้นส์ Silp ตรวจสอบ
  6. ทำการพิมพ์สัญญา
  7. ทำการคีย์ประกัน
  8. ทำการปริ้นส์ใบเสร็จประกัน
  9. ทำการยืนยันประกัน
  10. ถ่ายเอกสาร
  11. รับชำระสินเชื่อ
  12. ออกรายงานประจำวัน (ตอนเย็น)
ปัญหา
  1. รับชำระเงินค่าประกันภัยผิดประเภท
  2. เครื่องพิมพ์สัญญาขัดข้อง
การแก้ไขปัญหา
  1. มีพี่เลี้ยงคอยสอนในการรับชำระ
  2. ต้องเช็ดเครื่องพิมพ์ใหม่

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 6 ของการฝึกงาน

ภาระงานประจำวัน
  1. ทำ KYC
  2. ทำใบคำขอ
  3. ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสินเชื่อ
  4. ทำการปริ้นส์ Silp ตรวจสอบ
  5. ทำการอนุมัติ
  6. พิมพ์สัญญา
  7. ทำการนัดจ่ายสินเชื่อ
  8. ทำการจ่ายสินเชื่อ
  9. ทำการคีย์ประกัน
  10. ทำการยืนยันประกัน
  11. ทำการปริ้นส์ใบเสร็จประกัน
  12. รับชำระสินเชื่อ
ปัญหา
  1. ระบบขัดข้อง
  2. เครื่องพิมพ์สัญญาขัดข้อง
  3. พิมพ์ใบเสร็จประกันผิดประเภท
แก้ไขปัญหา
  1. ปิดเครื่องแล้วโหลดเครื่องใหม่
  2. เช็คเครื่องพิมพ์ใหม่
  3. เปลี่ยนใบเสร็จประกันใหม่

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 5 ของการฝึกงาน

ภาระงานประจำวัน
  1. ทำ KYC
  2. ทำใบคำขอ
  3. ทำการอนุมัติ
  4. พิมพ์สัญญา
  5. ทำการนัดจ่าย
  6. ทำการจ่ายสินเชื่อ
  7. รับชำระสินเชื่อ
  8. ทำการคีย์ประกัน
  9. ทำการโอนย้าย KYC
ปัญหาและอุปสรรค
  1. ยังไม่ค่อยรู้ว่าการคีย์ประกันเป็นอย่างไร
  2. ระบบการทำงานขัดข้อง
  3. การพิมพ์สัญญาไม่ค่อยตรงกับแบบฟอร์ม
การแก้ไขปัญหา
  1. จะมีพี่เลี้ยงคอยสอนงานให้ทำต้องทำอย่างไร
  2. ต้องโทรไปหาที่ศูนย์การส่งข้อมูล (Data) ของธนาคาร
  3. ต้องทำการเช็คเครื่องพิมพ์ใหม่ โดยการเช็ดด้วยน้ำยาเพื่อให้เครื่องพิมพ์สัญญาดูดกระดาษ

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 4 ของการฝึกงาน

ภาระงานประจำวัน
  1. ทำ KYC
  2. ทำใบคำขอ
  3. ทำวิเคราะห์ข้อมูลสินเชื่อ
  4. ทำการอนุมัติ
  5. พิมพ์สัญญา
  6. ทำการนัดจ่าย
  7. ทำการจ่ายสินเชื่อ
ปัญหา
  1. ยังไม่ค่อยรู้ว่าต้องทำอย่างไร
  2. พิมพ์สัญญาไม่ค่อยตรงกับแบบฟอร์ม
การแก้ไขปัญหา
  1. มีพี่เลี้ยงคอยแนะนำว่าจะต้องทำอย่างไร
  2. ต้องเช็คเครื่องพิมพ์ให้พิมพ์ตรงทำแบบฟอร์ม

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 3 ของการฝึกงาน

อาทิตย์นี้เป็นอาทิตย์ที่ 3 แล้วก็ต้องมีงานทำมากกว่าเดิม เพราะเราสามารถปรับตัวได้แล้ว และพวกพี่ที่ทำงานก็คอยสอนงานมากขึ้น

ภาระงาน
  1. ทำ KYC เหมือนกับทุกครั้ง
  2. ทำ ใบคำขอ เหมือนกับทุกครั้ง
  3. ทำการวิเคราะห์ข้อมูลของลุกค้าที่มาติดต่อกับธนาคาร
  4. จัดเรียงเอกสารต่าง ๆ ในการพิมพ์สัญญาในการกู้เงินสินเชื่อ
  5. คอยรับชำระเงินที่หน้าเคาร์เตอร์
  6. ช่วยคอมปริ้นส์เตอร์ให้กับแผนก
ปัญหาและอุปสรรค
  1. ยังไม่ค่อนรู้เอกสารว่าต้องมีอะไรบ้าง
  2. ยังไม่ค่อนรู้ว่าชำระเงินต้องไปอย่างไร
วิธีการแก้ไข
จะมีพี่สอนงานทุกอย่างว่าต้องทำอย่างไร และจะต้องทำอย่างไร และจะต้องไปตรงไหน

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 2 ของการฝึกงาน

เริ่มสัปดาห์ที่ 2 ของการฝึกงานก็เริ่มเข้าใจงานมากยิ่งขึ้น เพราะพวกพี่ที่ทำงานให้ทำงานมากขึ้นกว่าเริ่มเพราะอาจเป็นสัปดาห์ที่ 2 แล้วจึงเริ่มเหนื่อยมากขึ้นกว่าเดิม
ภาระงาน
  1. ทำ KYC (เพื่อทำฐานข้อมูลของลูกค้าที่มาติดต่อ)
  2. ทำใบคำขอเพื่อทำเรื่องในการขอกู้
  3. จัดเอกสารต่าง ๆ เข้าแฟ้มเพื่อเสนอผู้จัดการ
  4. ถ่ายเอกสารให้พี่ที่ทำงาน
  5. ทำวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าที่มาติดต่อกับธนาคาร
ปัญหาและอุปสรรค
  1. ทำการวิเคราะห์ไม่ค่อยได้
  2. เครือข่ายของธนาคารล้มบ่อย ๆ
แก้ไขปัญหา
  1. พี่ที่ทำงานจะช่วยสอนการทำวิเคราะห์งานเพื่อที่จะช่วยพี่เขาในการทำวิเคราะห์ลูกค้า
  2. ต้องหมั่นเซฟงานไว้ เลื่อน ๆ เพื่อป้องกันข้อมูลหาย

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความรู้ที่ได้จากการฝึกงานในสัปดาห์ที่1

ได้รู้ถึงกระบวนการทำงานของธนาคารออมสิน สาขาราชบุรี ฝ่ายสินเชื่อ ว่ามีกระบวนการจัดการกับเอกสารและการกรอกข้อมูลของลูกค้าฝ่ายสินเชื่อที่มาติดต่อ ขอกู้ยืมเงิน
ภาระงาน : 1. คีย์ข้อมูลแสดงประวัติของลูกค้า (KYC) เพื่อทำการขอรับใบคำขอ
                    2. เมื่อทำ KYC แล้วก็ทำใบคำขอเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้า
                    3. จัดเอกสารต่าง ๆ ของฝ่ายสินเชื่อ
                    4. ทำการลงทะเบียนประวัติของลูกค้า
ปัญหาและอุปสรรคในการฝึกงาน
                    1. เครือข่ายหรือระบบของธนาคารล้มบ่อย เพราะธนาคารได้เปลี่ยนระบบใหม่จึงไม่ค่อยสะดวกในการทำงาน
                    2. เข้าไปตอนแรกก็ยังไม่รู้ว่าต้องคีย์ข้อมูลหรือทำใบคำขออย่างไร
                    3. ไม่ค่อยรู้ว่าเอกสารอยู่หมวดอะไรบ้าง และต้องเก็บไว้ที่ไหน
การแก้ไขปัญหา
จะมีพี่เลี้ยงคอยช่วยสอนงานต่าง ๆ ว่าจะต้องคีย์ข้อมูลอย่างไร และเอกสารตรงไหนอยู่หมวดอะไร และต้องเก็บไว้ที่ไหนบ้าง

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551

เทศกาลกินเจ






ความหมายของคำว่า เจ คำว่า "เจ" ในภาษาจีนทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมีความหมายว่า "อุโบสถ" เดิมหมายความว่า "การรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน" ตามแบบอย่างของชาวพุทธที่รักษาอุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 ที่จะไม่รับประทานอาหารหลังเที่ยงวันไปแล้ว แต่สำหรับพุทธนิกายมหายานนั้น การรักษาอุโบสถศีลจะรวมถึงการไม่รับประทานเนื้อสัตว์ด้วย เราจึงนิยมเรียกการไม่ทานเนื้อสัตว์รวมไปกับการกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่า "กินเจ" ดังนั้นความหมายของคนกินเจ ไม่เพียงแต่ไม่ทานเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ

ช่วงเวลากินเจ
ประเพณีกินเจที่ชาวจีนเรียกกันว่า "เก้าอ๊วงเจ" หรือ "กิ้วอ๊วงเจ" แปลว่า "เจเดือน 9" เริ่มต้นในวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน รวม 9 วัน 9 คืน ตรงกับเดือน 11 หรือเดือนตุลาคมของไทย (ตามปฏิทินสากล) สำหรับในปี พ.ศ.2551 นี้ เริ่มวันที่ 29 กันยายน – 7 ตุลาคม คำว่า "เก้าอ๊วง" หรือ "กิ้วอ๊วง" แปลว่า "พระราชา 9 องค์" หรือนพราชา หมายถึงผู้เป็นใหญ่ทั้ง 9 ซึ่งเป็นที่มาของประเพณีกินผักกินเจ


จุดประสงค์หลักของการกินเจ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. กินเพื่อสุขภาพ เพราะอาหารเจเป็นอาหารชีวจิต เมื่อกินติดต่อกัน จะทำให้ร่างกายสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายได้ และปรับระบบต่างๆ ในร่างกายให้มีเสถียรภาพ
2. กินด้วยจิตเมตตา เนื่องจากทุกๆ วัน อาหารที่เรากินประกอบด้วยเลือดเนื้อของสรรพสัตว์ ผู้ที่มีจิตใจดีงามจึงไม่สามารถกินเนื้อของสัตว์เหล่านั้นได้
3.กินเพื่อเว้นกรรม เพราะการฆ่าเอาเลือดเนื้อผู้อื่นมาเป็นของเราเป็นการสร้างกรรม แม้จะไม่ได้ลงมือฆ่าเองก็ตาม เพราะการซื้อผู้อื่นเท่ากับการจ้างฆ่า ถ้าไม่มีคนกินก็ไม่มีคนฆ่ามาขาย ผู้ที่เข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมจึงหยุดกิน หันมารับประทานอาหารเจแทน โดยไม่เห็นแก่ความอร่อยในช่วงเวลาสั้นๆ เพียงแค่ให้อาหารผ่านลิ้นเท่านั้น

ตำนานที่มาของการกินเจ มีเรื่องเล่าอยู่ถึง 7 เรื่องได้แก่
ตำนานที่ 1 รำลึกถึงวีรชนทั้ง 9 เทศกาลกินเจเริ่มขึ้นเมื่อ 400 กว่าปีที่แล้ว โดยชาวจีนกินเจเป็นการบำเพ็ญกุศลเพื่อรำลึกถึงวีรชน 9 คน ซึ่งเรียกว่า "หงี่หั่วท้วง" ซึ่งได้ต่อสู้กับชาวแมนจูผู้รุกรานอย่างกล้าหาญ ถึงแม้จะแพ้และต้องตายก็ตาม ดังนั้นเมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ชาวจีนที่ยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของชาวแมนจู จึงพากันนุ่งขาวห่มขาว ถือศีลกินเจ เพื่อรำลึกถึงเหล่านักสู้ "หงี่หั่วท้วง" ที่ได้ต่อสู้พลีชีพในครั้งนั้น เพราะเชื่อว่าการปฏิบัติเช่นนี้จะช่วยชำระจิตวิญญาณเกิดความเข้มแข็งทางร่างกายและจิตใจ
ตำนานที่ 2 บูชาพระพุทธเจ้า เชื่อว่า เป็นการประกอบพิธีกรรมเพื่อสักการะบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ รวมเป็น 9 พระองค์ด้วยกัน หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า "ดาวนพเคราะห์" ทั้ง 9 ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู และพระเกตุ ในพิธีกรรมบูชานี้ สาธุชนในพระพุทธศาสนาจะสละเวลาทางโลกมาบำเพ็ญศีล งดเว้นเนื้อสัตว์ และแต่งกายด้วยชุดขาว
ตำนานที่ 3 เก้าอ๊องฝ่ายมหายาน กล่าวไว้ว่า การกินเจเป็นพิธีปฏิบัติที่สืบต่อกันมาของชาวจีนในประเทศไทย เพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 พระองค์ ดังมีในพระสูตร ปั๊กเต๊าโก๋ว ฮุดเชียวไจเอียงชั่วเมียวเกง กล่าวไว้คือ พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ พระศรีรัตนโลกประภาโมษอิศวรพุทธะ พระเวปุลลรัตนโลกวรรณสิทธิพุทธะ พระอโศกโลกวิชัยมงคลพุทธะ พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญาวิภาคพุทธะ พระธรรมมติธรรมสาครจรโลกมโนพุทธะ พระเวปุลลจันทรโภคไภสัชชไวฑูรย์พุทธะ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ คือพระศรีสุขโลกปัทมอรรถอลังการโพธิสัตว์และพระศรีเวปุลกสังสารโลกสุขอิศวรโพธิสัตว์ รวมเป็น 9 พระองค์ (หรือ "เก้าอ๊อง") ทรงตั้งปณิธานจักโปรดสัตว์โลก จึงได้แบ่งกายมาเป็นเทพเจ้า 9 พระองค์ด้วยกันคือ ไต้อวยเอี๊ยงเม้งทัมหลังไทแชกุน ไต้เจียกอิมเจ็งกื้อมึ้งงวนแชกุน ไต้กวนจิงหยิ้งลุกช้งเจงแชกุน ไต้ฮั่งเฮี่ยงเม้งม่งเคียกนิวแชกุน ไต้ปิ๊กตังง้วนเนี้ยบเจงกังแชกุน ไต้โพ้วปั๊กเก๊กบู๊เอียกกี่แชกุน ไต้เพียวเทียนกวนพัวกุงกวนแชกุน ไต้ตั่งเม้งงั่วคูแชกุน ฮุ้ยกวงไตเพียกแชกุน เทพเจ้าทั้ง 9 พระองค์ ทรงอำนาจตบะอันเรืองฤทธิ์บริหารธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และทอง ทั่วทุกพิภพน้อยใหญ่สารทิศ
ตำนานที่ 4 พิธีบูชาเพื่อระลึกถึงราชวงศ์ซ้อง เชื่อว่า การกินเจกินเจเป็นการบูชากษัตริย์เป๊ง กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซ้องซึ่งสิ้นพระชนม์โดยทรงทำอัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ในขณะที่เสด็จไต้หวันโดยทางเรือ เมื่อมีพระชนนมายุได้ 9 พรรษา พิธีบูชาเพื่อระลึกถึงราชวงศ์ซ้องนี้ มีแต่เฉพาะในมณฑลฮกเกี้ยนซึ่ง เป็นดินแดนผืนสุดท้ายของราชวงศ์ซ้องเท่านั้น โดยชาวฮกเกี้ยนได้จัดทำพิธีดังกล่าวนี้ขึ้นด้วยการอาศัยศาสนาบังหน้าการเมือง ประเพณีนี้เข้ามาสู่เมืองไทยโดยชาวจีนแต้จิ๋วที่อพยพจากฮกเกี้ยนนำมาเผยแผ่อีกทอดหนึ่ง
ตำนานที่ 5 เล่าเอี๋ย เมื่อ 1,500 ปีก่อน ณ มณฑลกังไสซึ่งเป็นแดนแห่งความเจริญรุ่งเรือง ฮ่องเต้เมืองนี้มีพระราชโอรส 9 พระองค์ซึ่งเก่งทั้งบุ๋น บู๊ ทำให้หัวเมืองต่างๆ ยอมสวามิภักดิ์ ยกเว้นแคว้นก่งเลี้ยดที่มีอำนาจเข้มแข็ง และมีกองกำลังทหารที่เหนือกว่า ทั้งสองแคว้นทำศึกกันมาถึงครั้งที่ 4 แคว้นก่งเลี้ยดชนะโดยการทุ่มกองกำลังทหารที่มากกว่าหลายเท่าตัว โอบล้อมกองทัพพระราชโอรสทั้งเก้าไว้ทุกด้าน แต่กองทัพก่งเลี้ยดไม่สามารถบุกเข้าเมืองได้จึงถอยทัพกลับ จนวันหนึ่งชาวกังไสเกิดความแตกสามัคคีและเอาเปรียบกัน เทพยดาทราบว่า อีกไม่นานกังไสจะเกิดภัยพิบัติจึงหาผู้อาสาช่วย แต่ชาวบ้านจะพ้นภัยได้ก็ต่อเมื่อได้สร้างผลบุญของตนเอง ดวงวิญญาณพระราชโอรสองค์โตรับอาสา และเพ่งญาณเห็นว่า ควรเริ่มที่บ้านเศรษฐีใจบุญลีฮั้วก่าย คืนวันหนึ่งคนรับใช้แจ้งเศรษฐีลีฮั้วก่ายว่า มีขอทานโรคเรื้อนมาขอพบ เศรษฐีจึงมอบเงินจำนวนหนึ่งให้เป็นค่าเดินทาง แต่ขอทานไม่ไป และประกาศให้ชาวเมืองถือศีลกินเจเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน ผู้ใดทำตามภัยพิบัติจะหายไป เศรษฐีนำมาปฏิบัติก่อน และผู้อื่นจึงปฏิบัติตาม จนมีการจัดให้มีอุปรากรเป็นมหรสพในช่วงกินเจด้วย เล่าเอี๋ยเกิดศรัทธาประเพณีกินเจของมณฑลกังไส จึงได้ศึกษาตำราการกินเจของ เศรษฐีลีฮั้วก่ายที่บันทึกไว้ แต่ได้ดัดแปลงพิธีกรรมบางอย่างให้รัดกุมยิ่งขึ้นและให้มีพิธียกอ๋องฮ่องเต้ (พิธีเชิญพระอิศวรมาเป็นประธานในการกินเจ)
ตำนานที่ 6 เล่าเซ็ง มีชายขี้เมาคนหนึ่งชื่อ เล่าเซ็ง เข้าใจผิดว่า แม่ตนตายไปเพราะเป็นโรคขาดสารอาหาร จนคืนหนึ่งแม่มาเข้าฝันว่า ตนตายไปได้รับความสุขมาก เพราะแม่กินแต่อาหารเจ และหากลูกต้องการพบให้ไปที่เขาโพถ้อซัว บนเกาะน่ำไฮ้ ครั้นถึงเทศกาลไหว้พระโพธิสัตว์กวนอิมที่เขาโพถ้อซัว เล่าเซ็งจึงขอตามเพื่อนบ้านไปไหว้พระโพธิสัตว์ด้วย โดยเพื่อนบ้านให้เล่าเซ็งสัญญาว่า จะไม่กินเหล้าและเนื้อสัตว์จึงยอมให้ไป แต่ระหว่างทางเล่าเซ็งผิดสัญญา เพื่อนบ้านจึงหนีไป โชคดีที่มีหญิงสาวคนหนึ่งต้องการไปไหว้พระโพธิสัตว์เช่นกัน เขาจึงขอตามนางไปด้วย เมื่อถึงเขาโพถ้อซัว ขณะที่เล่าเซ็งก้มลงกราบพระโพธิสัตว์อยู่นั้น เขาเห็นแม่ลอยอยู่เหนือกระถางธูป แต่คนอื่นมองไม่เห็น ขณะเขาเดินทางกลับ ได้เจอกับเด็กชายยืนร้องไห้อยู่ จึงเข้าไปถามไถ่จนทราบว่า เด็กคนนั้นเป็นลูกชายของเขากับภรรยาเก่าที่เลิกกันไปนานแล้ว เขาจึงพาไปอยู่ด้วย และต่อมาหญิงสาวที่นำทางเล่าเซ็งไปพบพระโพธิสัตว์ได้มาขออยู่ด้วย ทั้งสามอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข หญิงสาวคนนั้นเป็นสาวบริสุทธิ์ มีความประพฤติดี อยู่ในศีลธรรม และถือศีลกินเจอยู่เป็นประจำ นางรู้ว่าใกล้ถึงวันตายของนางแล้ว จึงบอกเล่าเซ็ง เมื่อถึงวันนั้นนางแต่งตัวด้วยอาภาณ์ขาวสะอาด นั่งสักครู่แล้วก็สิ้นลม เล่าเซ็งเห็นการจากไปด้วยดีของนางคล้ายกับแม่ จึงเกิดศรัทธา ยกสมบัติให้ลูกชาย แล้วประพฤติตัวใหม่ เมื่อตายไปจะได้บังเกิดผลเช่นเดียวกับแม่ และหญิงสาว ประเพณีกินเจจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่นั้น
ตำนานที่ 7 การกินเจที่ภูเก็ต มีคณะงิ้วจากเมืองจีน มาเปิดการแสดงที่อำเภอกระทู้นานเป็นแรมปี บังเอิญช่วงนั้นเกิดโรคระบาดขึ้น คณะงิ้วจึงจัดให้มีพิธีกินเจ และสร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่อสะเดาะเคราะห์ หลังจากนั้นโรคระบาดก็หาย ชาวกะทู้เกิดความศรัทธาจึงปฏิบัติตาม หลังจากประกอบพิธีอยู่ประมาณ 2-3 ปี ก็มีผู้คนเลื่อมใสมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับอยากได้พิธีกินเจที่สมบูรณ์แบบตามประเพณีมณฑลกังไส ประเทศจีน จึงได้ส่งตัวแทนไปนำควันธูป (เหี่ยวเอี้ยน) จากกังไสให้ลอยมาถึงภูเก็ต โดยในการเดินทางกลับจะต้องคอยจุดธูปต่อกันมิให้ดับมอด ศาลเจ้ากะทู้จึงได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับของพิธีกินเจในปัจจุบัน สำหรับเมืองไทยความเชื่อเรื่องการกินเจ เป็นไปในแนวทางของการละเว้นการเอาชีวิตของสัตว์ เพื่อเป็นสักการะบูชาแก่พระพุทธเจ้า และมหาโพธิสัตว์กวนอิม อาจเนื่องจากการแพร่หลายของการละเว้นการกินเนื้อวัว ในกลุ่มคนที่นับถือ "เจ้าแม่กวนอิม" การกินเจจึงเป็นอีกหนึ่งพิธีกรรมเพื่อสักการะ
ที่มา th.wikipedia.org

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551

รายงานข่าวแจ้งว่า “ฮิตาชิ” บริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ชั้นนำจากแดนปลาดิบ กระโดดเข้าสู่สังเวียนออนไลน์ด้วยเสิร์ชเอ็นจิ้นน้องใหม่ล่าสุดชื่อว่า GazoPa ซึ่งสามารถค้นหาภาพที่คล้ายกับภาพต้องการได้ โดยไม่ใช้คียเวิร์ด แต่จะใช้คุณลักษณะของภาพอย่างเช่น สี และรูปร่างในการค้นหา
Gazopa เป็นบริการค้นหาภาพทีใช้คุณลักษณะของภาพในการเสิร์ช เพื่อให้ได้ภาพที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งในการค้นหาภาพด้วยวิธีอื่น ผู้ใช้มักจะไม่ได้ภาพใกล้เคียงผลลัพธ์ที่ต้องการ หรือแม่นยำเท่ากับการค้นหาหน้าเว็บเพจ สาเหตเนื่องจากการค้นหาด้วยภาพไม่มีชนิดของข้อมูลที่เรียกว่า metadata หรือคำต่างๆ ที่ช่วยอธิบายคุณสมบัติของภาพเหล่านั้น การใช้แค่คีย์เวิร์ดไม่เพียงพอต่อการค้นหาภาพได้อย่างแม่นยำนัก
แต่สำหรับ GozaPa ผู้ใช้สามารถกระโดดข้ามข้อจำกัดในเรื่องดังกล่าวได้ โดย GozaPa เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ค้นหาภาพคล้ายที่ต้องการจากคุณลักษณะต่างๆ อย่างเช่น สี หรือรูปร่างของสิ่งที่ปรากฎในภาพ โดยผู้ใช้สามารถใช้ภาพถ่ายตัวเอง หรือภาพวาด ตลอดจนภาพบนเน็ต ไปให้ GozaPa ค้นหาภาพที่ใกล้เคียงจากฐานข้อมูลได้ ไม่เพียงแต่จะสามารถค้นหาจากภาพได้เท่านั้น แม้กระทั่งธัมบ์เนลของวิดีโอ (ภาพแสดงหน้าจอวิดีโอคลิปขนาดเล็ก) ก็ยังสามารถเสิร์ชได้อีก พูดง่ายๆ ก็คือ ผู้ใช้สามารถค้นหาวิดีโอจากภาพได้อีกด้วย
หัวใจในการทำงานของ GazaPa ก็คือ การจัดเก็บฐานข้อมูลภาพ (พร้อมคุณสมบัติ) ที่มีขนาดใหญ่มาก โดยจะสามารถค้นหาภาพคล้ายที่ต้องการจาก 50 ล้านภาพที่ได้มาจากเว็บภายใน 1 วินาที และเนื่องจากบ็อตของ GazoPa ยังคงท่องไปบนเว็บอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเร็ววันนี้ ผู้ใข้จะสามารถค้นหาภาพที่ต้องการได้จากฐานข้อมูลภาพ 100 ล้านภาพ
http://www.arip.co.th/2006/news.php?id=407741

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ-นามสกุล : นางสาว จิรัฐติกาล จรัสฤกษ์สกุล
ที่อยู่ : 2/2 ถ.ราษฏรยินดี ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
เกิดวันที่ : 14 กุมภาพันธ์ 2531
อายุ : 20 ปี
การศึกษา : ปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ โปรแกรมการบริหารธุรกิจ แขนงคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ปี 3
เกรดเฉลี่ย : 2.55
E-mail : rak_fern18@hotmail.com
u49172792065@hotmail.com

เรื่องของในหลวงที่เรา(อาจ)ไม่เคยรู้

1.ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45น.
2.นายแพทย์ผู้ทำคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ ทรงมีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์
3.พระนาม 'ภูมิพล' ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
4.พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช
5.ทรงมีชื่อเล่น ว่า เล็ก หรือ พระองค์เล็ก
6.ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษา ทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า 'H.H Bhummibol Mahidol'หมายเลขประจำตัว 449
7.ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างธรรมดาว่า 'แม่'
8.สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนม อาทิตย์ละครั้ง
9.แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม
10.สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไ ปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต
11.สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยทรงพระเยาว์เป็นสุนัขไทย ทรงตั้งชื่อให้ว่า'บ๊อบบี้'
12.ทรงฉลองพระเนตร(แว่นสายตา)ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่าเวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำพระองค์ต้องลุกขึ้นบ่อยๆ
13.สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที ในหลวงจะทรงต่อรองว่า 3 ที มากเกินไป 2 ทีพอแล้ว
14.ระหว่างประทับอยู่ สวิตเซอร์แลนด์นั้นระหว่างพี่น้องจะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ
15.ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก 'การให้' โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า 'กระป๋องคนจน' เอาไว้ หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก 'เก็บภาษี' หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุมเพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
16.ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆ เขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าก็ตอบว่า 'ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋อ งวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อจักรยาน'
17.กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา
18.ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง
19. พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก 'การเล่น' สมัยทรงพระเยาว์ เพราะหากอยากได้ของเล่นอะไรต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อเอง หรือ ประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับพระเชษฐา ซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วเอามาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง
20.สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และภูมิประเทศของไทย โดยโปรดเกล้าฯให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทยเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆเพื่อให้ทรงเล่นเป็นจิ๊กซอว์
21.ในหลวงทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น เปียโน กีตาร์ แซกโซโฟน แต่รู้หรือไม่ว่าเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ หีบเพลง (แอกคอร์เดียน)
22.ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้
23.ครูสอนดนตร ีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส
24.ทรงพระราชนิพนธ์พลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ 'แสงเทียน' จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง 25.ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง 'เราสู้' 26. รู้ไหม.? ทรงมีพระอุปนิสัยสนใจการถ่ายภาพเหมือนใคร : เหมือนสมเด็จย่า และ รัชกาลที่5 27. นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่ รพ.จุฬาฯ โรงพยาบาลภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย 28. ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง 'นายอินทร์' และ 'ติโต' ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่ 'พระมหาชนก' ทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ 29. ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และ เรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง(ต่อมาเปล ี่ยนชื่อเป็น'กีฬาซีเกมส์') ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2510 30. ครั้งหนึ่ง ทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่ง และตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯว่า เสด็จฯกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน 31. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ ์คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ 'กังหันชัยพัฒนา' เมื่อปี 2536 33. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์,ดีโซฮอลล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว 34. องค์การสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ในหลวงเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง 35. พระนามเต็มของในหลวง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรา มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร 36. รักแรกพบ ของในหลวงและหม่อมสิริกิติ์เกิดขึ้นที่สวิสเซอร์แลนด์ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯทรงให้สัมภาษณ์ว่า'น่าจะเป็น เกลียดแรกพบ มากกว่ารักแรกพบ เนื่องเพราะรับสั่งว่าจะเสด็จถึงเวลาบ่าย 4 โมง แต่จริงๆแล้วเสด็จมาถึงหนึ่งทุ่ม ช้ากว่าเวลานัดหมายตั้งสามชั่วโมง 37. ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ที่วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 โดยทรงจดทะเบียนสมรสเหมือนคนทั่วไป ข้อความในสมุดทะเบียนก็เหมือนคนทั่วไปทุกอย่าง ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท 37. หลังอภิเษกสมรส ทรง'ฮันนีมูน'ที่หัวหิน 38. ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน 39. ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาย์และพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช 40. ของใช้ส่วนพระ องค์นั้นไม่จำเป็นต้องแพงหรือต้องแบรนด์เนม ดังนั้นการถวายของให้ในหลวงจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นของแพง อะไรที่มาจากน้ำใจจะทรงใช้ทั้งนั้น 41. เครื่องประดับ : ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้น นาฬิกา 42. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว : ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ 43. หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอด ยังปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด ซึ่งเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีด และ กดเป็นรอยบุ๋ม 44. วันที่ในหลวงเสียใจที่สุด คือวันที่สมเด็จย่าเสด็จสวรรคต มีหนังสือเล่าไว้ว่า วันนั้นในหลวงไปเฝ้า แม่ถึงตีสี่ตีห้า พอแม่หลับจึงเสด็จฯกลับ เมื่อถึงวัง ทางโรงพยาบาลก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์แล้ว ในหลวงรีบกลับไปที่โรงพยาบาล เห็นแม่นอนหลับตาอยุ่บนเตียง ในหลวงคุกเข่าเข้าไปกราบที่อกแม่ ซบหน้านิ่งอยู่นาน ค่อยๆเงยพระพักตร์ขึ้นมาน้ำพระเนตรไหลนอง 45. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนถึงปัจจุบนมีจำ นวนกว่า 3,000 โครงการ 46. ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานต่างๆจะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ 3 สิ่ง คือ แผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง(ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ 47.ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่างแม้กระทั่งการโรเนียวกระดาษที่จะนำมาให้ข้าราชการที่เข้าเฝ้าฯถวายงาน 48. เก็บร่ม : ครั้งหนึ่งเมื่อในหลวงเสด็จฯเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน เมื่อทรงเห็นดังนั้น จึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรทั้งกลางสายฝน 49. ทรงศึกษาลักษณะอากาศทุกวัน โดยใช้ข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยานำขึ้นทูลเกล้าฯ ร่วมกับข้อมูลจากต่างประเทศที่หามาเอง เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติที่อาจก่อความเสียหายแก่ประชาชน50. โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์จำนวน 32,866.73บาท ซึ่งได้จากการขายหนังสือดนตรีที่พระเจนดุริยางค์ จากการขายนมวัว ก็ค่อยๆเติบโตเป็นโครงการพัฒนามาจนเป็นอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ 51. เวลามีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาเยี่ยมช มโครงการฯสวนจิตรลดา ในหลวงจะเสด็จฯลงมาอธิบายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากทรงรู้ทุกรายละเอ ียด 52. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ในหลวงตอบว่า 'ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ 53. ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังในอีก 5 ชั่วโมง (20 กรกฎาคม 2549) ยังทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ พระองค์จะได้มอนิเตอร์ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน 54. อาหารทรงโปรด : โปรดผัดผักทุกชนิด เช่น ผัดคะน้า ผัดถั่วงอก ผัดถั่วลันเตา 55. ผักที่ไม่โปรด : ผักชี ต้นหอม และตังฉ่าย 56. ทรงเสวย ข้าวกล้อง เป็นพระกระยาหารหลัก 57. ไม่เสวยปลานิล เพราะทรงเป็นผู้เลี้ยงปลานิลคนแรกในประเทศไทย โดยใช้สระว่ายน้ำในพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นบ่อเลี้ยง แล้วแจกจ่ายพันธุ์ไปให้กรมประมง 58. เครื่องดื่มทรงโปรด : โปรดโอวัลตินเป็นพิเศษ เคย เสวยวันหนึ่งหลายครั้ง 59. ทีวีช่องโปรด ทรงโปรดข่าวช่องฝรั่งเศส ของยูบีซี เพื่อทรงรับฟังข่าวสารจากทั่วโลก 60. ทรงฟัง จส.100 และเคยโทรศัพท์ไปรายงานสถานการณ์ต่างๆใน กทม.ไปที ่ จส.100ด้วย โดยใช้พระนามแฝง 61. หนังสือที่ในหลวงอ่าน : ตอนเช้าตื่นบรรทม ในหลวงจะเปิดดูหนังสือพิมพ์รายวันทั้งไทยและเทศ ทุกฉบับ และก่อนเข้านอนจะทรงอ่านนิตยสารไทม์ส นิวสวีก เอเชียวีก ฯลฯ ที่มีข่าวทั่วทุกมุมโลก 62. ร้านตัดเสื้อของในหลวง คือ ร้านยูไลย เจ้าของชื่อ ยูไลย ลาภประเสริฐ ถวายงานตัดเสื้อในหลวงมาตั้งแต่ปี 2501 เมื่อนายยูไลยเสียชีวิต ก็มี ลูกชาย นายสมภพ ลาภประเสริฐ มาถวายงานต่อ จนถึงตอนนี้ก็เกือบ 50 ปีแล้ว 63. ห้องทรงงานของในหลวง อยู่ใกล้ห้องบรรทม บนชั้น 8 ของตำหนักจิตรลดาฯเป็นห้องเล็กๆ ขนาด 3x4 เมตร ภายในห้องมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์ แผนที่ ฯลฯ 64. สุนัขทรงเลี้ยง นอกจากคุณทองแดง สุวรรณชาด สุนัขประจำรัชกาล ที่ปัจจุบันอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล แล้ว ย ังมีสุนัขทรงเลี้ยงอีก 33 ตัว 65. ในหลวง เกิดจากคำที่ชาวเหนือใช้เรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า 'นายหลวง' ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น ในหลวง 66. ทรงเชี่ยวชาญถึง 6 ภาษา คือ ไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และ สเปน 67. อาชีพของในหลวง เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อเอกสารสำคัญใดๆทรงโปรดให้กรอกในช่อง อาชีพ ของพระองค์ว่า 'ทำราชการ' 68. ในหลวงทรงพระเนตรเทียมข้างขวา เป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เมืองโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ รถพระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกเข้าพระเนตรข้างขวา ตอนนั้นมีอายุเพียง 20 พรรษา และทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียว ในการทำงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนชาวไทยมาตลอดกว่า 60 ปี 69. ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันลงข่าวลือเกี่ยวกับในหลวงว่า แซกโซโฟนที่ทรงอยู่เป็นประจำนั้นเป็นแซกโซโฟนที่ทำด้วยทองคำเนื้อแท้บริสุทธิ์ ซึ่งได้มีพระราชดำรัสว่า'อันนี้ไม่จริงเลย สมมติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก' 70. ปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่ง จนกระทั่งกุด 71. หัวใจทรงเต้นไม่ปรกติ ในหลวงเคยประชวรหนักจนหัวใจเต้นไม่ปกติ เนื่องจากต ิดเชื้อไมโครพลาสม่า ขณะขึ้นเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสะเมิงติดต่อกันหลายปี 72. รู้หรือไม่ว่า ในหลวงเป็นคนประดิษฐ์รูปแบบฟอนต์ภาษาในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้อย่าง ฟอนต์จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์ 73. ในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จัดขึ้นที่อิมแพ็ค มีประชาชนเข้าชมรวม 6ล้านคน 74. ในหลวงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2493 จน 29 ปีต่อมาจึงมีผู้คำนวณว่าเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละ 3 ชม. ทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทาน 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมด 141 ตัน 75. ดอกไม้ประจำพระองค์ คือ ดอกดาวเรือง 76. สีประจำพระองค์คือ สีเหลือง 77. นั่งรถหารสอง : ทรงรับสั่งกับข้าราชบริพารเสมอว่า การนั่งรถคนละคันเป็นการสิ้นเปลือง จึงให้นั่งรวมกัน ไม่โปรดให้มีขบวนรถยาวเหยียด
ที่มา : เจ้นวล เจ้าของบทความ : ไม่ทราบชื่อ

ได้อะไรเกี่ยวกับวิชาเตรียมฝึก

วิชาเตรียมฝึกได้ให้อะไรหลาย ๆ อย่าง เช่น การแต่งกายให้ถูกระเบียบของมหาลัย การวางตัวเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีผู้คน การฝึกทักษะเกี่ยวกับภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารการเงินส่วนบุคคลว่าเราจะทำอย่างไรถึงจะได้มีเงินออม